วิธีการเล่นเเซกโซโฟน

การเป่าเก่งหรือจะพัฒนาไปสู่ความเก่งประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้

  •  การวางนิ้ว

         การวางนิ้วในการเป่าแซกโซโฟนควรเป็นไปตามธรรมชาติที่สุด ลดขึ้นแล้วปล่อยมือลงข้าง  อย่างธรรมชาติ ลักษณะของมือและนิ้วที่วางบนแป้นนิ้วแซกโซโฟน จะมีลักษณะเหมือนลักษณะของมือและนิ้วขณะยืนปล่อยมือลงข้าง  คือมีความโค้งเป็นธรรมชาติ น้ำหนักของจะไม่อยู่บนมือขวา แต่จะอยู่บนสายคล้องคอ         นิ้วทุกนิ้ววางอยู่บนแป้นนิ้วไม่เกร็ง การกดแป้นนิ้วในขณะที่เป่าเป็นไปตามธรรมชาติคือ ไม่กระแทก เมื่อปล่อยแป้นนิ้ว นิ้วจะไม่กระเด้งห่างออกจากแป้นนิ้วพยายามให้นิ้วติดอยู่กับแป้นนิ้วตลอดเวลา
 

  • การฝึกความเร็วของนิ้ว

       ศิลปะของการใช้นิ้ว         ระยะเวลาของตัวหยุด เมื่อจะเป่าให้นึกถึงเสียงที่จะเป่าก่อน ในขณะเดียวกันให้เปลี่ยนนิ้วไปยังเสียงที่จะเป่า ฝึกในทำนองเดียวกันนี้ตลอดทั้งบทฝึกในทุกบันไดเสียง พยายามฝึกอย่างช้า  เพื่อสร้างสมาธิของนิ้วให้อยู่กับแป้นนิ้ว         การพัฒนาความเร็วของนิ้ว ต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตร สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ ไม่ควรเป่าให้เร็วเกินความสามารถที่จะควบคุมจังหวะ สำเนียงและความชัดเจนของเสียงได้การฝึกผิด  จนติดเป็นนิสัยเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข การฝึกอย่างเร็วนั้นควรเป็นความเร็วที่สามารถควบคุมได้ ทั้งจังหวะ สำเนียงและความชัดเจนในกรณีที่ไม่สามารถจะเป่าตรงที่ยาก  ได้นั้น ควรจะลดความเร็วลงมา อุปกรณ์ที่ช่วยได้อีกอย่างคือ ดินสอดำ สำหรับทำเครื่องหมายในโน้ตเพลง เพื่อเตือนความจำว่าตรงที่เราผิดเราได้แก้ไขให้ดีขึ้นแล้วหรือยังแบบฝึกหัดการฝึกความเร็วของนิ้ว        ฝึกทุกบันไดเสียง ทั้งเมเจอร์และไมเนอร์ โดยฝึกตั้งแต่ตัวโน้ตที่ต่ำที่สุดไปจนถึงโน้ตที่สูงที่สุด ในแต่ละบันไดเสียง ฝึกเป่าบันไดเสียงคู่ 3 ในทุก  บันไดเสียง ดังตัวอย่าง        ฝึกเป่าขั้นคู่เสียง ในแต่ละคอร์ดทุกบันไดเสียง
  
  • นิ้วแทน
         ความคล่องตัวในการใช้นิ้วเป็นเรื่องของทักษะที่เกิดจากการฝึกหัด วลีเพลงบางวลีมีความไม่คล่องตัวอย่างมากสำหรับการใช้นิ้วแท้ในการเป่าให้ได้เสียงที่ต้องการ นิ้วแทนช่วยแก้ปัญหาให้การใช้นิ้วได้คล่องตัวขึ้นในวลีเพลงเหล่านั้น นิ้วแทนบางนิ้วเสียงอาจจะเพี้ยนสูง หรือต่ำไปจากเสียงเดิม แต่ก็พอจะอนุโลมได้สำหรับวลีเพลงที่เร็ว ส่วนวลีเพลงที่ช้าควรใช้นิ้วแท้ไม่ควรใช้นิ้วแทนโดยไม่จำเป็น         นักแซกโซโฟนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักนิ้วแทนทุกนิ้ว แล้วฝึกจนสามารถนำมาใช้ได้ทันที เมื่อเห็นวลีเพลงที่จำเป็นจะต้องใช้นิ้วแทนโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาคิดว่าควรใช้นิ้วอย่างไร ฉะนั้นนิ้วแทนจึงเป็นเสมือนวิทยายุทธสำหรับนักแซกโซโฟน        ตัวอย่างวลีเพลงที่ใช้นิ้วแทน         F# นิ้วแทนควรจะใช้เมื่อวลีเพลงอยู่ในลักษณะบันไดเสียงโครมาติก คือ การไล่เสียงกันแบบครึ่งเสียง         B FLAT นิ้วแทน B FL 

  • การใช้นิ้วลมและการใช้ลิ้น (SLUR AND TONGUING)
         เสียงของแซกโซโฟนที่ถูกเป่าออกมาประกอบด้วยอาการ 2 ลักษณะคือ การใช้ลมและการใช้ลิ้น นักแซกโซโฟนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่าเมื่อไรใช้ลมและเมื่อไรใช้ลิ้นในการเป่า ความวิจิตรพิสดารของเสียงในคีตวรรณกรรมแต่ละบทถูกประพันธ์ขึ้นโดยอาศัย การใช้ลมและการใช้ลิ้นในการเป่า เพื่อให้เป็นแนวทำนองที่น่าสนใจยิ่งขึ้นเป็นหลักเบื้องต้น  การใช้ลม         เป็นลักษณะของเสียงที่เป่าออกมา มีความติดต่อกันไม่ขาดระยะโดยใช้ลมเดียวกัน ตัวโน้ตที่เขียนจะมีเครื่องหมายการใช้ลมในลักษณะเส้นโค้งกำกับอยู่        ตัวโน้ตตัวแรกจะใช้ลิ้นเพียงตัวเดียว ส่วนตัวโน้ตที่ตามมาจะใช้ลมตลอดติดต่อกัน อาการของอวัยวะภายในปากจะอยู่กับที่ในขณะกระแสลมผ่านเข้าสู่กำพวด การใช้ลิ้น         เป็นลักษณะของเสียงที่เป่าออกมาถูกแยกเสียงแต่ละเสียงออกจากกันโดยใช้ลิ้น ตัวโน้ตที่เขียนจะไม่มีเส้นโค้งกำกับอยู่         ถ้าต้องการให้เสียงมีช่องว่างระหว่างเสียงหรือมีเสียงสั้นมากยิ่งขึ้น ตัวโน้ตจะถูกประจุไว้ที่หัวเป็นเครื่องหมายแต่ค่าของตัวโน้ตยังคงเดิม       หมายเหตุ  ตัวโน้ตทุกตัวถึงแม้จะมีเสียงสั้น แต่ยังมีสิทธิที่จะต้องเป่าอย่างมีคุณภาพ        อาการของลิ้นขณะเป่า         โดยกระดิกปลายลิ้นไปแตะด้านล่างของลิ้นแซกโซโฟน แล้วตวัดลิ้นกลับที่เดิม ในขณะเดียวกันกระแสลมที่เป่ายังพุ่งอยู่อย่างเดิมมิได้เปลี่ยนแปลง        การฝึกลิ้นเพื่อใช้ในการเป่า         ให้พูดคำว่า ที หรือ ทา อาการของลิ้นในขณะเป่าจะอยู่ในลักษณะเดียวกันเมื่อพูด ดู หรือ ทูตั้งเครื่องเคาะจังหวะในอัตรา 60 เคาะต่อหนึ่งนาที ข้อควรระวัง         พยายามฝึกด้วยอัตราจังหวะที่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งค่าของตัวโน้ตทุกตัวต้องแน่ใจว่าเท่ากันสำเนียงถูกต้อง การใช้นิ้วไม่เกร็งหรือไม่กระดกห่างจนเกินไป กระแสลมที่เป่ามีความสม่ำเสมอ

  • เครื่องหมายและการถ่ายทอดความรู้สึกในเพลง
         การเป่าตัวโน้ตและเครื่องหมายได้ถูกต้อง มิได้หมายความว่าเป็นการบรรเลงดนตรี นักเป่าก็คือนักเป่าไม่ใช่นักดนตรี เพราะนักเป่านั้นเพียงเป่าให้เป็นเสียง ส่วนคำว่านักดนตรีนั้นเป็นผู้บรรเลงดนตรีทำเสียงให้เป็นดนตรี การถ่ายทอดอารมณ์เพลงจากตัวโน้ตเป็นดนตรีนั่นแหละคือ วิญญาณศิลปิน         การบรรเลงดนตรีเป็นการถ่ายทอดภาษาของความรู้สึกที่มีต่อเพลง การที่จะถ่ายทอดอารมณ์หรือเข้าถึงอารมณ์ของเพลง ก็ต้องศึกษาองค์ประกอบของดนตรีเสียก่อน เช่น ตัวโน้ต แนวทำนองแนวประสาน ลักษณะของเสียง เป็นต้น เมื่อเข้าใจองค์ประกอบแล้วถึงจะเข้าใจอารมณ์เพลงของตัวโน้ตเครื่องหมายต่าง  ไม่ใช่ดนตรี สิ่งเหล่านี้เป็นแต่เพียงองค์ประกอบเท่านั้นที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความเป็นดนตรีความเป็นดนตรีจึงอยู่เหนือเครื่องหมายหรืออยู่เหนือตัวโน้ตนั่นเอง         ควรระลึกอยู่เสมอว่า ตัวโน้ตทุกตัวที่เป่าเป็นการเป่าดนตรี ซึ่งมีการถ่ายทอดทางอารมณ์ไม่ได้เป่าตัวโน้ต ความเป็นดนตรีของเสียงที่เป่าออกมา ต้องมีความหมายทางอารมณ์ ทำไมเสียงแตรรถไม่เป็นเสียงดนตรี ทำไมเสียงนกหวีดไม่เป็นเสียงดนตรี เพราะเสียงแตรรถ เสียงนกหวีดเป็นแต่เพียงเสียง ไม่ได้ถ่ายทอดอารมณ์ในแง่ดนตรี

  • การจากไปของเสียงที่เป่า
       การจากไปของเสียงที่เป่าหรือการหยุดเสียง มีอยู่ 4 ลักษณะด้วยกัน         1. หยุดโดยการเบาเสียง โดยค่อย  เบาเสียงลงทีละน้อย  จนหายไปในที่สุด         2. หยุดโดยการเบาเสียงเหมือนกันแต่เบาแล้วหยุดลมที่เป่า         3. หยุดลมที่เป่าแต่ไม่ต้องเบาเสียง         4. หยุดโดยทันทีทันใดโดยการใช้ลิ้นหยุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น